วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

รับตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่


ลักษณะของศาลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. ศาล พรหม - เทพ - เทพารักษ์
a. หากเป็นตำราโบราณ กำหนดลักษณะในการอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชั้นสวรรค์ ดาวดึงส์ พรหมโลก เทวโลก เทพเทวดาชั้นฟ้าทั้งหลาย โดยลักษณะของศาลให้มีเสา 6 ต้นจึงจะถูกต้อง หากตั้งบนดาดฟ้าจะอัญเชิญเทพ - พรหมสถิต ในกรณีตั้งศาล 6 เสาบนพื้นดิน สามารถอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ร่วมได้ทั้งพระพรหม - พระอินทร์ - เทพ - รุกเทวดา - พระภูมิเจ้าที่ - แม่พระธรณี - เจ้าที่ - เจ้าท่า - เจ้าป่าเจ้าเขา - นางฟ้า - นางไม้ - แม่นางเจ้าของที่
*หากแต่ปัจจุบัน หลายที่สังเกตเห็นว่าใช้ศาลใหญ่เสาเดียว เชิญพระพรหมสถิตตามอาคารใหญ่ต่างๆทั่วไป
2. ศาลเจ้าที่
a. ต้องตั้งที่พื้นดิน ห้ามขึ้นบนบ้าน หรือตั้งบนดาดฟ้าเป็นอันขาด โดยลักษณะของศาลให้มีเสา 4 ต้น
3. ศาลพระภูมิ
a. ต้องตั้งที่พื้นดิน และห้ามขึ้นบนบ้านเช่นเดียวกับศาลเจ้าที่ โดยลักษณะของศาลให้มีเสาเพียง 1 ต้น
การตั้งศาลพระภูมิ
การเซ่นสังเวยและการตั้งศาลพระภูมิ ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันมาแต่โบราณ โดยจะกระทำเมื่อปลูกบ้านใหม่หรือย้ายที่อยู่ เพราะเชื่อว่าขั้นตอนการตั้งศาลจะเป็นการขับไล่สิ่งอัปมงคลทั้งหลายให้ออกไปจากบ้าน แล้วจึงอัญเชิญพระภูมิมาสิงสถิตเพื่อปกป้องคุ้มครองเจ้าของบ้านและบริวารให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความเจริญรุ่งเรืองมีโชคลาภ และถือว่าพระภูมิเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งของบ้าน พิธีการตั้งศาลนั้น โดยทั่วไปเจ้าของบ้านจะปรึกษาผู้รู้หรือพราหมณ์ผู้ประกอบพิธี มาประกอบพิธีให้ เริ่มจากการตรวจดูฤกษ์ยาม ซึ่งเข้ากับวันเดือนปีเกิดของเจ้าของบ้าน เพื่อให้ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข

สิ่งที่ต้องคำนึงในการตั้งศาลพระภูมิ คือ สถานที่ตั้ง,ทิศทาง,วันและฤกษ์ตั้ง,ความสูงของศาลพระภูมิและผู้ประกอบพิธีกรรมการตั้งศาลพระภูมิ
สถานที่ที่ตั้งศาล มีหลักการพิจารณาดังนี้
1. ที่ตั้งศาลต้องเป็นบริเวณพื้นดิน มิใช่บริเวณเดียวกับพื้นของตัวบ้าน
2. หากไม่มีพื้นที่ที่เป็นพื้นดิน สามารถทำการตั้งศาลบนชั้นดาดฟ้าได้ แต่ส่วนใหญ่ศาลที่ตั้งบนดาดฟ้าจะเป็นศาลเทพต่างๆ เช่นพระพรหม หรือ พระนารายณ์ มิใช่พระภูมิเจ้าที่
3. จุดที่ตั้งของศาลต้องไม่ถูกเงาของตัวบ้านทอดลงมาทับ
4. ที่ตั้งของศาลควรอยู่ห่างจากบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
5. อย่าตั้งศาลให้อยู่ใกล้กับตัวบ้านมากนัก
6. อย่าหันหน้าศาลเข้าสู่บริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
7. ไม่ควรตั้งศาลให้หันหน้าตรงกับประตูหน้าบ้าน
8. ตั้งศาลให้ห่างจากรั้วหรือกำแพงบ้านอย่างน้อย 1 เมตร
9. ถ้าสามารถยกพื้นที่ตั้งศาลให้สูงขึ้นสัก 1 คืบ จากพื้นดินได้ ก็เหมาะสมอย่างยิ่ง
10. ความสูงของศาล ควรสูงเหนือระดับสายตาของผู้เป็นเจ้าของบ้านขึ้นไปเล็กน้อย
ทิศทาง การหันหน้าศาลพระภูมิสู่ทิศมงคล
1. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ทิศอีสาน เป็นทิศที่ดีที่สุดหากตั้งศาลหันไปทิศนี้บ้านนั้นจะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดไป
2. ทิศตะวันออก หรือ ทิศบูรพา เป็นทิศที่ดีอันดับ 2 หากตั้งศาลหันไปทิศนี้บ้านนั้นจะมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ประมาณ 100 ปี หลังจากนั้น จะมีแต่เสื่อมลงๆจนถึงขั้นหาความสุขความเจริญไม่ได้
3. ทิศตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ทิศอาคเณย์ เป็นทิศที่ดีอันดับ 3 หากตั้งศาลหันไปทิศนี้บ้านนั้นจะมีความเจริญรุ่งเรือง
อยู่ประมาณ 50 ปี หลังจากนั้น จะมีแต่เสื่อมลงๆจนถึงขั้นหาความสุขความเจริญไม่ได้
ทิศต้องห้ามในการตั้งศาลพระภูมิคือ ทิศตะวันตกและทิศใต้
เมื่อหาทิศทางตั้งศาลได้แล้วจะต้องพูนดินให้สูง 1 คืบ เกลี่ยดินด้วยมือและทุบให้แน่น ห้ามใช้เท้าเด็ดขาด และเตรียมน้ำมนต์ไว้พรมบริเวณพื้นดินเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้ายต่างๆ
น้ำมนต์ที่ว่านี้เรียกว่า " น้ำมนต์ธรณีสาร " น้ำมนต์ธรณีสารนี้ ทำได้โดยนำน้ำธรรมดาไปให้พระท่านสวดพระพุทธมนต์ทำเหมือนน้ำมนต์ทั่วไปแต่ต่างกัน
ตรงที่ให้ท่านนำใบไม้ต้นธรณีสารมาใส่ลงในน้ำที่จะทำน้ำมนต์
วันและฤกษ์ตั้งศาล
มีความสำคัญมาก ควรเลือกวันที่ดีและมีความเป็นสิริมงคลเพื่อให้ประสิทธิ์ผลในทางมงคล
แก่ผู้อยู่อาศัยในบ้านเรือนนั้นสืบต่อไป
วันต่อไปนี้ถือเป็นวันที่เป็นมงคลฤกษ์ แต่ถ้าวันข้างขึ้น หรือข้างแรมดังกล่าวไปตรงกับ
วันต้องห้าม ของเดือนใด ให้เลี่ยงไปใช้วันอื่นเสีย
วันข้างขึ้น วันข้างแรม
๒ ค่ำ ๒ ค่ำ
๔ ค่ำ ๔ ค่ำ
๖ ค่ำ ๖ ค่ำ
๙ ค่ำ ๙ ค่ำ
๑๑ ค่ำ ๑๑ ค่ำ
เวลาฤกษ์อันเป็นมงคล
วันอาทิตย์ เวลา ๖.๐๙ น. - ๘.๑๙ น.
วันจันทร์ เวลา ๘.๒๙ น. - ๑๐.๓๙ น.
วันอังคาร เวลา ๖.๓๙ น. - ๘.๐๙ น.
วันพุธ เวลา ๘.๓๙ น. - ๑๐.๑๙ น.
วันพฤหัสบดี เวลา ๑๐.๔๙ น. - ๑๑.๓๙ น.
วันศุกร์ เวลา ๖.๑๙ น. - ๘.๐๙ น.
วันเสาร์ เวลา ๘.๔๙ น. - ๑๐.๔๙ น.
วันต้องห้าม
เดือนอ้าย ( ธันวาคม ) วันต้องห้ามคือ วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือนยี่ ( มกราคม ) วันต้องห้ามคือ วันพุธ และวันศุกร์
เดือน ๓ ( กุมภาพันธ์ ) วันต้องห้ามคือ วันอังคาร
เดือน ๔ ( มีนาคม) วันต้องห้ามคือ วันจันทร์
เดือน ๕ ( เมษายน ) วันต้องห้ามคือ วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือน ๖ ( พฤษภาคม ) วันต้องห้ามคือ วันพุธ และวันศุกร์
เดือน ๗ (มิถุนายน ) วันต้องห้ามคือ วันอังคาร
เดือน ๘ ( กรกฎาคม) วันต้องห้ามคือ วันจันทร์
เดือน ๙ ( สิงหาคม ) วันต้องห้ามคือ วันพฤหัสบดี และวันเสาร์
เดือน ๑๐ ( กันยายน ) วันต้องห้ามคือ วันพุธ และวันศุกร์
เดือน ๑๑ ( ตุลาคม ) วันต้องห้ามคือ วันอังคาร
เดือน ๑๒ ( พฤศจิกายน ) วันต้องห้ามคือ วันจันทร์
จะสังเกตได้ว่า จะไม่ปรากฏว่ามี วันอาทิตย์ เป็น ข้อห้ามเลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้ยึดเอาวันอาทิตย์
เป็นวันที่ดีที่สุดสำหรับการตั้งศาล เพราะคนโบราณถือกันว่า วันอาทิตย์นั้นแม้จะจะเป็นวันที่มีกำลังแรงดี
แต่เป็นวันแรงและวันร้อน ไม่เหมาะที่จะทำการตั้งศาล เพราะบ้านอาจจะ ร้อน จนปราศจากความร่มเย็นเป็นสุข แต่ ถ้าหากผู้กระทำพิธีมีเคล็ดมีมนตร์แก้ความร้อนของวันได้ ก็สามารถคิดทำการตั้งศาลในวันนี้ได้ตามความสะดวก

ตัวศาลพระภูมินั้นไม่มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นสีใดหรือขนาดเท่าใด ส่วนใหญ่จะนิยมใช้สีประจำวันเกิดของเจ้าที่ ลักษณะและรูปแบบของศาลพระภูมิจะสะท้อนให้เห็นวิวัฒนาการของบ้านเรือนและอาคารสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไป ตามยุคสมัยและความเจริญของบ้านเมืองอย่างเช่นบ้านในสมัยโบราณ สร้างเป็นเรือนไม้ทรงไทย ศาลพระภูมิก็จะมีรูปแบบเป็นทรงไทยไม้หลังน้อย ๆ เช่นเดียวกัน ในปัจจุบันเราจึงเห็นรูปแบบของศาลพระภูมิที่ดูแปลกตาตามยุค บางแห่งสร้างขึ้นจากการย่อส่วนของสถานที่จริง เพื่อให้เข้ากับอาคารที่มีอยู่

ส่วน "เจว็ด" (บางทีอาจเรียกว่า "ตระเว็ด" หรือ "เตว็ด" ก็มี) หรือตัวองค์พระภูมิ ถือเสมือนตัวแทน "เทวดา" หรือ "เจ้าที่" นาม "พระชัยมงคล" เดิมจะเป็นภาพเทวดาบนแผ่นไม้รูปวงรีมีฐานตั้งปัจจุบันเจว็ดประจำศาลมักจะใช้เป็นรูปหล่อทองเหลือง ดูเปล่งปลั่งคล้ายทอง ในหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ หัตถ์ซ้ายถือถุงเงิน เชื่อว่าท่านจะคอยประทานเงินให้แก่ผู้เป็นเจ้าของที่ เดิมหัตถ์ซ้ายของเทวดาจะถือสมุด (หนังสือ) ซึ่งคนในสมัยก่อนน่าจะตระหนักว่าความรู้สำคัญกว่าเงินทองเพราะหนังสือก่อให้เกิดความรู้สติปัญญา เพื่อใช้เลี้ยงชีพต่อไปภายภาคหน้า

เครื่องตั้งศาล
1. ข้าบริวารรับใช้ชาย-หญิง ของพระภูมิ ๑ คู่ เป็นตุ๊กตา มีทั้งปูนพลาสเตอร์ปั้นและพลาสติก
2. ตัวละครรำหุ่นปั้นชาย-หญิง ๑ คู่
3. ช้างปั้น ม้าปั้น 1 คู่
4. แจกันดอกไม้ ๑ คู่
5. กระถางธูป ๑ ใบ
6. ผ้าเหลืองผูกเจว็ด ๑ ผืน หรือ ผ้า 3 สี
7. ม่านประดับศาล ๔ ผืน
8. ผ้าห้อยหน้าศาล ๑ ผืน
9. เทียนเงินเทียนทองอย่างละ ๑ เล่ม
10. ธูปเงินธูปทอง อย่างละ ๒ ดอก

ในวันทำพิธีตั้งศาล เจ้าบ้านตระเตรียมเครื่องสักการะและสังเวยพระภูมิชุดใหญ่ ตั้งบนโต๊ะพิธีต่อจากนั้นผู้ทำพิธีหรือพรามหมณ์จะทำพิธีร่ายคาถาทำน้ำมนต์ไหว้ครู อัญเชิญเทวดาให้มาสิงสถิตที่เจว็ด ก่อนนำเสาศาลมาฝังลงดินเพื่อให้ทำมาค้าขึ้นก้าวหน้าร่ำรวย จะมีการนำน้ำมนต์ธรณีสารมารดบริเวณหลุม ช่วยไล่ภูติผีและสิ่งชั่วร้ายให้หมดไป จึงฝังสิ่งมงคลทั้งหลายลงไปด้วย เช่น ทองคำ เงิน เหล็ก แก้วมณี เป็นต้น รวมทั้งแผ่นทองคำ ซึ่งจารดวงชะตาของเจ้าของบ้าน ดวงชะตาพระภูมิ และยันต์จัตตุโร เจิมด้วยแป้งหอมน้ำมันหอม โรยทับตามด้วยดอกไม้ชื่อเป็นมงคลปนกับเหรียญบาทเหรียญสตางค์ จากนั้นจึงโบกปูนปิดทับตั้งเสาศาลคร่อมรอยปูนนี้ ให้ความสูงของปลายเสาอยู่ระดับเพียงตาจึงยกระดับศาลพระภูมิขึ้นบนเสาไม่ให้เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ถ้าเป็นสมัยก่อนจะนำเสาของศาลนั้นปักลงหลุมที่ทำพิธี

หลังจากอัญเชิญเจว็ดมาสถิตที่ศาล โดยห้ามมิให้เอียงด้านใดด้านหนึ่ง พราหมณ์ผู้ทำพิธีจะมีการเจิมศาลและพรมน้ำอบที่ตัวศาล จากนั้นจึงจัดแจกันดอกไม้ กระถางธูป ข้ารับใช้พระภูมิ ละครรำ ช้างม้า เครื่องเซ่นบูชา พวงมาลัย ผ้าแพรผ้าสีผูกประดับที่เสา บูชาเครื่องเซ่น เป็นอันเสร็จพิธีตั้งศาล

ส่วนการเซ่นสังเวยพระภูมิหลังจากวันทำพิธีแล้ว นิยมทำกันในหลายโอกาสพร้อมกับงานมงคลอื่น ๆ เช่น งานขึ้นปีใหม่ งานทำบุญบ้าน งานแต่งงาน งานบวช บางคนอาจบูชาทุกวัน โดยการถวายนั้น ตามตำราพรหมชาติกล่าวว่า ต้องกล่าวชื่อพระภูมิซึ่งก็คือ "พระชัยมงคล" ให้ถูกต้องต้องสังเวยอาหารคาวหวานให้ถูกต้องในเวลาก่อนเที่ยงวัน และต้องออกชื่อคนใช้ของพระภูมิคนใดคนหนึ่ง (นายจันทิศ นายจันถี และจ่าสพพระเชิงเรือน) เป็นคนนำไปถวายบูชาพระภูมิอีกทอดหนึ่งโดยเครื่องสังเวยดูตามเดือนดังนี้

เดือน ๕, ๖, ๗, บูชาด้วยอาหารตามมีตามกินตามพื้นบ้าน เดือน ๘, ๙, ๑๐ บูชาด้วยเนื้อพล่า ปลายำ เดือน ๑๑, ๑๒, ๑ บูชาด้วยเนื้อดิบสด ๆ และเดือน ๒, ๓, ๔ บูชาด้วยผลหมากรากไม้

เมื่อเสร็จจากการเซ่นบูชาแล้ว ควรลาเครื่องสังเวยหลังจากธูปหมดก้านแล้ว แบ่งอาหารคาวหวานเป็นที่เล็ก ๆ วางไว้โคนเสา เพื่อเซ่นแก่คนใช้ของพระภูมิและผีไม่มีญาติ

รับตั้งศาล โดยอาจารย์ ชาญเวทย์ 0865675101
รับจัดตั้งศาลพระพรหม - ตั้งศาลพระภูมิ ศาลเทพ และศาลต่าง ๆ (รับถอนศาลเก่าทุกชนิด) รับประกอบพิธีพราหมณ์ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น บวงสรวงในพิธีทั่วไป - บวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ - บวงสรวงศาลต่าง ๆ ,วางศิลาฤกษ์ - ยกเสาเอก - ลงเข็มมงคลปลูกบ้าน ,เปิดกล้องถ่ายละคร - ภาพยนตร์ ,ไหว้ครู - บูชาครู ,บายศรีสู่ขวัญ - ขวัญนาค - โกนจุก ,และรับเบิกเนตรเทวรูปต่าง ๆ ยินดีรับปรึกษาพิธีกรรม - พิธีการตั้งศาล - ถอนศาลทุกชนิด ให้คำแนะนำเกี่ยวกับพิธีกรรมนานาประเภทได้แบบกันเอง ประกอบพิธีกรรมโดยพราหมณ์ ผู้ชำนาญและสามารถประกอบพิธีกรรมอย่างถูกต้องตามแบบแผนโบราณประเพณี รับถอนของ ถอนเสน่ห์ พิธีกรรมไสยศาตร์ ทุกชนิด

ไม่มีความคิดเห็น:

ดวงดีดอทคอม เวปใหม่